หน้าหลัก > สาระน่ารู้ > Tax for you ภาษีและการลดหย่อน
Tax for you ภาษีและการลดหย่อน
Tax for you ภาษีและการลดหย่อน
07 Aug, 2020 / By tobe
Images/Blog/HruP0qpU-blog-2.jpg

Tax for you ภาษีและการลดหย่อน

   การ “ลดหย่อนภาษี” เป็นของคู่กันกับมนุษย์เงินเดือน พี่ทุยว่าไม่มีใครหนีเรื่องการจ่ายภาษีไปได้พ้น ยิ่งใครมีรายได้มากๆก็ยิ่งเสียภาษีมาก แต่เรายังโชคดีที่รัฐบาลเค้ายังให้เราใช้สิทธิ “ค่าลดหย่อนภาษี” ได้ ช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลง แถมยังสอดแทรกประโยชน์แฝงให้กับผู้มีเงินได้ผ่านการลดหย่อนภาษีอีกด้วย

   เพราะอะไรพี่ทุยถึงบอกอย่างนั้น มาดูกันเลยดีกว่าว่า “ค่าลดหย่อนภาษี” ในปี 2560 นั้นแบ่งยังไง ? มีอะไรบ้าง ?

ค่าลดหย่อนภาษีนั้น มีทั้งหมด 5 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
 

1. ค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้ นอกเหนือจากการที่เราสามารถเอาเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง โบนัสที่อยู่ใน 40(1) และ 40 (2) ทั้งหมดของเรามาหัก “ค่าใช้จ่ายส่วนตัว” ได้ไม่เกิน 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาทแล้ว เรายังมี “ค่าลดหย่อนส่วนตัว” ที่สามารถนำมาหักเพิ่มได้อีกคนละ 60,000 บาทด้วย
 

2. ค่าลดหย่อนส่งเสริมคุณภาพชีวิต

  •     เงินสมทบกองทุนประกันสังคม แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
  •     เบี้ยประกันชีวิตของตนเอง ไม่เกิน 100,000 บาท

   แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป และผลประโยชน์ตอบแทนคืน (เช่น เงินคืนประกันออมทรัพย์ระหว่างปี) ไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี

    เบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ไม่เกิน 10,000 บาท เงื่อนไขของประกันชีวิตเช่นเดียวกับของตนเอง

3. ค่าลดหย่อนส่งเสริมสถาบันครอบครัว 

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส ที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท แต่ต้องยื่นแบบแสดงรายการรวมกัน และมีการจดทะเบียนคู่สมรส
  • ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ

    – กรณีเป็นบุตรตามกฎหมาย ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนคน
    – กรณีเป็นบุตรบุญธรรมที่มีการจดทะเบียน ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท แต่ต้องรวมกับบุตรตามกฎหมายแล้วไม่เกิน 3 คน ถ้าบุตรตามกฎหมายมีเกิน 3 คนอยู่แล้ว ก็จะนำบุตรบุญธรรมมาลดหย่อนอีกไม่ได้
    – บุตรที่นำมาลดหย่อนภาษีต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี แต่ถ้าอายุ 21-25 ปี จะต้องกำลังศึกษาในระดับ ปวส. ขึ้นไป
    – นับเฉพาะจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น
    – บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีที่เราลดหย่อนภาษีตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป

  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ

    – พ่อแม่ต้องมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีที่ขอลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท
    – หากคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถนำพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาทเช่นกัน
    – จะต้องมีหนังสือรับรองการอุปการะเลี้ยงดูว่าลูกคนไหนเลี้ยงดูได้แค่คนเดียวเท่านั้น (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิลดหย่อน)
    เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ตามจริงไม่เกินคนละ 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ
    – พ่อแม่จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
    – ค่าเบี้ยประกันสามารถหารกับลูกหลายๆคนในการลดหย่อนได้

  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ

    – ผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ
    – คนพิการ/ทุพพลภาพ ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
    – สามารถหย่อนคนพิการ/ทุพพลภาพที่ไม่อยู่ในสายเลือดใกล้ชิดได้ 1 คนเท่านั้น
    – ถ้าคนพิการ/ทุพพลภาพเป็นสายเลือดใกล้ชิดกัน คือ พ่อแม่ตนเอง พ่อแม่คู่สมรส คู่สมรส ลูกได้ไม่จำกัดจำนวนคน

4. ค่าลดหย่อนเพื่อการออมเงินและการลงทุน

  • เงินสะสม กบข. (ของข้าราชการ) เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ของเอกชน) ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ /เงินสะสมกบข. เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ เงินลงทุน RMF แล้วไม่เกิน 500,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ

    – เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชี /เงินสะสมกบข. เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ เงินลงทุน RMF และเงินสะสมกอช. ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
    – กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป และจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไปจนถึง 85 ปีหรือมากกว่า

  •  กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ /เงินสะสมกบข. เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ ประกันชีวิตแบบบำนาญ และเงินสะสมกอช.
  • กองทุนรวมระยะยาว (LTF) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท

    – กรณีกู้ร่วมหลายคนสามารถหารเท่าๆกันได้ แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

5. ค่าลดหย่อนเพื่อสังคมและส่งเสริมเศรษฐกิจ

  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา หักลดหย่อนได้เป็น 2 เท่าของเงินที่จ่ายไป แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆแล้ว
  • เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ รวมกับเงินบริจาคเพื่อการศึกษาแล้ว

   

     **ค่าลดหย่อนท่องเที่ยวช่วงเทศกาลหรือค่าลดหย่อนชอปปิ้ง  อันนี้เงื่อนไขก็ขึ้นกับนโยบายที่ออกมาในแต่ละปีในการกระตุ้นเศรษฐกิจ พี่ทุยแนะนำให้ดูรายละเอียดไปเป็นปีๆดีกว่า

    ทั้งหมดนี้ก็เป็นค่าลดหย่อนภาษีที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนสามารถนำไปใช้สิทธิ์ได้ ก่อนจะใช้สิทธิ “ลดหย่อนภาษี” ก็อย่าลืมศึกษารายละเอียดเงื่อนไขให้ดีก่อนน้า เพราะบางอย่างถ้าเราทำผิดเงื่อนไขเราอาจจะโดนค่าปรับตามมาได้ เช่น LTF RMF เป็นต้น และอย่าลืมเช็คสิทธิลดหย่อนภาษีก่อนยื่นแบบด้วยล่ะ จะได้ไม่เสียสิทธิประโยชน์ไปฟรีๆเน้อออ

 

Cr: moneybuffalo

Like
ความคิดเห็น (1)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ความคิดเห็นจาก ประพาภร
Sat 29 Aug, 2020
ดีมากค่ะ จะได้วางแผนการจ่ายภาษีใหม่ให้ดีกว่าเดิม